การรู้จำรูปแบบ (Pattern recognition) เป็นการวัตถุ (Object) ออกเป็นหมวดหมู่ (Classes) ตามรูปแบบของวัตถุ (Pattern) แต่ละประเภท เช่น รูปร่าง ลักษณะเด่นที่น่าสนใจ ตัวอย่าง เช่น โปรแกรมจำลายนิ้วมือ โปรแกรมจำใบหน้า จะต้องบันทึกข้อมูลในลักษณะของภาพถ่ายและกำหนดจุดเด่นหรือจุดที่น่าสังเกตเก็บในหน่วยความจำของระบบไว้ก่อน ส่วนโปรแกรมจดจำเสียงจะเก็บข้อมูลในรูปแบบของคลื่นเสียงเพื่อเปลี่ยนนสัญญาณเสียงเป็นคลื่นไฟฟ้าเก็บไว้เป็นข้อมูล
การคิดเชิงนามธรรม (Abstraction) หมายถึง การคิดเพื่อคัดแยกนำเฉพาะส่วนสำคัญในปัญหาที่พบมาเป็นข้อมูลที่ใช้ในการแก้ปัญหาโดยที่จะตัดส่วนที่ไม่สำคัญออกไป
ตัวอย่าง : รุ้ง
รุ้ง เป็นปรากฎการณ์ธรรมชาติที่มักเกิดหลังฝนตกหรือเกิดในบริเวณที่มีละอองน้ำมาก ๆ เช่น บริเวณน้ำตก โดยการหักเหขแสงที่ส่องผ่านละอองน้ำในอากาศเกิดเป็นแถบสเปกตรัมเส้นโค้งบนผิวโลกมีสีต่าง ๆ ตามความถี่ของแสง รวม 7 สี คือ ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง ส้ม และแดง ในบางครั้งก็อาจเห็นรุ้ง 2 ชั้น โดยที่รุ้งชั้นแรกมีสีม่วงอยู่บนส่วนรุ้งชั้นที่สองจะสลับสีเป็นสีแดงอยู่บน และสีอื่น ๆ จะเรียงกลับสีกับรุ้งชั้นแรก
รุ้งที่มีสีแดงอยู่บนนั้นเกิดจากการหักเหของแสงผ่านละอองน้ำครั้งเดียว เรียกว่า
รุ้งปฐมภูมิ ส่วนรุ้งที่สลับสีกับรุ้งชั้นแรกเกิดจากการหักเหผ่านละอองน้ำ 2 ครั้ง เรียกว่า
รุ้งทุติยภูมิ การมองเห็นรุ้งจะต้องหันหลังให้ดวงอาทิตย์
คำถาม ??
การคิดเชิงนามธรรมในเรื่องนี้ก็คือ จะแสดงการเกิดรุ้งได้อย่างไร ซึ่งเรื่องสีและชนิดของรุ้งเป็นส่วนประกอบที่ไม่ใช่ส่วนสำคัญของปัญหานี้
ใบงานที่ 1.2 : การจำรูปแบบและการคิดเชิงนามธรรม
คำชี้แจง : ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้ในสมุด แล้วนำส่งครูประจำวิชาท้ายชั่วโมงเรียน
1.จากตัวอย่างไฟฉายที่ใช้หลอด LED ถ้าใส่รางแบตเตอรี่กลับด้านโดยสลับขั้วบวกเป็นลบแล้วเปิดสวิตซ์ หลอด LED จะเปล่งแสงหรือไม่ เพราะเหตุใด
2.ในการบอกยี่ห้อของรถยนต์ที่แล่นบนถนนจะใช้แนวคิดเชิงนามธรรมอย่างไร
เฉลย
0 ความคิดเห็น